analyticstracking
หัวข้อ   “ ความคิดเห็นของประชาชน ที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญ
ประชาชน 53.2% ค้านให้ ส.ว. อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล
แต่ 46.8% หนุนใช้ ส.ว. สรรหาช่วงเปลี่ยนผ่าน
54.8% เห็นด้วยกับการใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ
56.2% ระบุนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส. เป็นคนนอกก็ได้
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็น
ของประชาชนเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชน ที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญ” โดยเก็บข้อมูล
จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,073 คน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ พบว่า
 
                  ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 53.2 เห็นว่าผู้ที่ควรทำหน้าที่ในการ
อภิปราย และลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจรัฐบาลในสภาฯ ควรเป็นหน้าที่ของ
ส.ส.ฝ่ายค้าน
ขณะที่ร้อยละ 29.8 เห็นว่าควรเป็นหน้าที่ของ ส.ว. ที่เหลือร้อยละ 17.0
ไม่แน่ใจ
 
                 โดยสิ่งที่อยากได้จากแฟนหรือคนรักมากที่สุดในวันวาเลนไทน์
คือ ไปเที่ยวด้วยกัน (ร้อยละ 47.5)
รองลงมาอยากได้ดอกกุหลาบ (ร้อยละ 33.9)
และอยากให้บอกรักด้วยคำพูด (ร้อยละ 31.2) สำหรับการมีเพศสัมพันธ์เพื่อแสดงความรัก
ในวันวาเลนไทน์ มีเพียงร้อยละ 3.7 เท่านั้นที่ต้องการ
 
                  ส่วนความเห็นต่อการได้มาซึ่ง ส.ว. โดยวิธีการสรรหาเพื่อทำหน้าที่ใน
ช่วงเปลี่ยนผ่านควบคู่ไปกับฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติชุดใหม่ พบว่า ประชาชน
ร้อยละ 46.8 เห็นด้วยกับวิธีนี้
ขณะที่ร้อยละ 40.4 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 12.8 ไม่แน่ใจ
 
                  สำหรับความเห็นที่มีต่อบัตรเลือกตั้ง นั้น ประชาชนร้อยละ 54.8 เห็นว่า ควรใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ
โดยใบแรกใช้เลือก ส.ส.แบบแบ่งเขต ส่วนใบที่สองไว้สำหรับเลือก ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ
ขณะที่ร้อยละ 41.0 เห็นว่า
ใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว ซึ่งใช้เลือกทั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเขตและนำไปคิดสัดส่วน ส.ส.ในบัญชีรายชื่อ มีเพียงร้อยละ 4.2
ระบุว่าไม่แน่ใจ
 
                 ทั้งนี้เมื่อถามว่า “นายกรัฐมนตรีจำเป็นต้องมาจาก ส.ส. หรือไม่” ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 56.2
ระบุว่าไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส. เป็นคนนอกก็ได้
ขณะที่ร้อยละ 40.0 ระบุว่านายกรัฐมนตรีจำเป็นต้องมาจาก ส.ส. เท่านั้น
และที่เหลือร้อยละ 3.8 ไม่แน่ใจ
 
                 ด้านความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญซึ่งจะเปิดเผยในวันที่ 29 มีนาคมนี้ พบว่า
ร้อยละ 53.2 ไม่ค่อยคาดหวังว่ารัฐธรรมนูญจะสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้
ขณะที่ ร้อยละ
46.8 มีความคาดหวัง
 
 
                 โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ผู้ที่ควรทำหน้าที่ในการอภิปราย และลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจรัฐบาลในสภาฯ
                

 
ร้อยละ
ควรเป็นหน้าที่ของ ส.ส.ฝ่ายค้าน
53.2
ควรเป็นหน้าที่ของ ส.ว.
29.8
ไม่แน่ใจ
17.0
 
 
             2. เห็นด้วยหรือไม่ กับการได้มาซึ่ง ส.ว. ด้วยวิธีการสรรหา เพื่อทำหน้าที่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน
                 ควบคู่ไปกับฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติชุดใหม่

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
46.8
ไม่เห็นด้วย
40.4
ไม่แน่ใจ
12.8
 
 
             3. การใช้บัตรเลือกตั้งแบบใดดีกว่ากัน
                

 
ร้อยละ
ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบดีกว่า
“ใบแรกใช้เลือก ส.ส.แบบแบ่งเขต ส่วนใบที่สองไว้สำหรับเลือก ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ”
54.8
ใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวดีกว่า
“ใบเดียวใช้เลือกทั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเขตและนำไปคิดสัดส่วน ส.ส.ในบัญชีรายชื่อ”
41.0
ไม่แน่ใจ
4.2
 
 
             4. “นายกรัฐมนตรีจำเป็นต้องมาจาก ส.ส. หรือไม่”
                

 
ร้อยละ
จำเป็นต้องมาจาก ส.ส. เท่านั้น
40.0
ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส. เป็นคนนอกก็ได้
56.2
ไม่แน่ใจ
3.8
 
 
             5. ความคาดหวังต่อร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะเปิดเผยในวันที่ 29 มีนาคม นี้ ว่าจะสามารถตอบสนอง
                 ความต้องการของประชาชนได้

 
ร้อยละ
มีความคาดหวัง
46.8
ไม่ค่อยคาดหวัง
53.2
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสะท้อนความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญ ตลอดจนความคาดหวัง
ที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ผลสำรวจที่ได้คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ในการใช้เป็นข้อมูล
เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติที่จะเปิดเผยสู่สาธารณชน ในวันที่ 29 มีนาคม 2559 และเพื่อสะท้อนความคิดเห็น
ของประชาชนให้สังคมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วง
น้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 22-23 มีนาคม 2559
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 24 มีนาคม 2559
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
597
55.6
             หญิง
476
44.4
รวม
1,073
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
166
15.5
             31 – 40 ปี
223
20.8
             41 – 50 ปี
307
28.6
             51 – 60 ปี
229
21.3
             61 ปีขึ้นไป
148
13.8
รวม
1,073
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
693
64.6
             ปริญญาตรี
283
26.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
97
9.0
รวม
1,073
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
162
15.1
             ลูกจ้างเอกชน
227
21.2
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
428
39.9
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
49
4.6
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
142
13.2
             นักเรียน/ นักศึกษา
40
3.7
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
25
2.3
รวม
1,073
100.0
ภูมิภาค:
   
             กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
238
22.2
             ภาคกลาง
186
17.3
             ภาคตะวันออก
84
7.8
             ภาคเหนือ
181
16.9
             ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
233
21.7
             ภาคใต้
151
14.1
รวม
1,073
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776